RIP Routing Information Protocol


รู้จักกับ Routing Information Protocol (RIP)
Routing Information Protocol หรือ RIP เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางประเภท Distance Vector ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายขนาด เล็กไปจนถึงขนาดกลาง เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางมาตรฐานที่ไม่ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตรายใด โดยมี RIP Version 1 ที่ได้รับมาตรฐาน RFC 1058
RIP เป็นโปรโตคอลที่เรียบง่าย อีกทั้งยังง่ายต่อการจัดตั้ง แต่ความเรียบง่ายของมัน กลับซ่อนปัญหาที่น่ากลัวไว้อยู่เบื้องหลัง
คุณลักษณะการทำงานของ RIP
คุณลักษณะของ RIP มีดังต่อไปนี้
  •  RIP อาศัย ค่าของจำนวน Hop เป็นหลัก เพื่อการเลือกเส้นทาง โดยจำกัดที่ไม่เกิน 15 Hop
  •  RIP จะส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทางออกไปทุก 30 วินาที
  •  การส่งข้อมูลเกี่ยวกับการปรับปรุงตารางเส้นทาง เป็นการส่งออกไปทั้งหมดของตารางทั้งที่เป็นของเก่าและของใหม่
  •  การส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทาง จะเกิดขึ้นกับ Router ที่เชื่อมต่อกันโดยตรงเท่านั้น
การทำงานขั้นพื้นฐานของ RIP Version 1
การทำงานขั้นพื้นฐานของ RIP ค่อนข้างเรียบง่าย ภายใต้กฎกติกา ดังนี้
  •  เมื่อใดที่ มีการ Boot Router ขึ้น เส้นทางที่ Router จะต้องให้ความสนใจเป็นลำดับแรกได้แก่ เส้นทางที่เชื่อมต่อกับ เครือข่ายปลายทางโดยตรง
  •  ภายใต้ RIP Version 1 ตัว Router จะทำการ แพร่กระจายข่าวสารเกี่ยวกับเครือข่ายที่มันรู้จักไปทั่วเครือข่ายทุกเครือข่าย ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรง
  •  Router ที่ทำงานภายใต้ RIP จะรับฟังการแพร่ข่าวสารนี้ โดยข่าวสารที่ใช้แพร่กระจายไปทั่ว (Broadcast) นี้ เป็นข่าวสารเพื่อการปรับปรุงเส้นทาง รวมทั้งการแสดงตัวตนของ Router
  •  การรับฟังการแพร่ข่าวสารไปทั่วของ Router เพื่อนบ้าน จะทำให้ Router ที่กำลังรับฟังอยู่ สามารถล่วงรู้เส้นทาง ไปสู่เครือข่าย อื่นๆ ที่ตนเองไม่รู้มาก่อน
  •  RIP ใช้ค่า Metric ประเภท Hop โดยอาศัยค่าที่แสดงจำนวน Hop เป็นหลักเกณฑ์ เพื่อเลือกเส้นทาง โดยมีค่าของ Hop จำกัดอยู่ที่ 15 หมายความว่า จำนวนของ Hop ที่ Router นับได้ต้องไม่เกิน 15 (15 Router ตลอดเส้นทางที่จะเดินทางผ่าน) ส่วน Hop ที่ 16 จะไม่สามารถเดินทางไปถึง
  •  หาก Router ตัวหนึ่ง เช่น Router A มีการส่งข้อมูลเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทาง ไปที่ Router B และ Router B จะสมมติว่า Hop ต่อไปของ ของเครือข่าย ที่ Router จะปรับปรุง ได้แก่ Router A พูดง่ายๆก็คือ Router ที่เชื่อมต่อระหว่างกัน จะถือว่า ต่างก็เป็น Hop หนึ่งในตารางเส้นทางของตนเอง
  •  การส่งข้อมูลเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทางระหว่าง Router จะกระทำเป็นห้วงเวลาที่แน่นอน

จากรูปที่ 12 จะเห็นว่า Router C เชื่อมต่อโดยตรงกับ Network C เมื่อใดที่ Router C ประกาศเส้นทางไปที่ Router B ค่า Metric ของมันจะเพิ่มขึ้น 1 ค่า เช่นเดียวกันที่ Router B จะเพิ่มค่า Metric เป็น 2 และประกาศเส้นทางไปที่ Router A จากมุมมองของ Router C Router A และ B จะถูกมองเป็น 2 Hop
จำนวนของ Hop ที่ใช้เดินทางไปสู่ปลายทาง หมายถึง จำนวนของ Router ที่ Packet จะต้องเดินทางผ่าน ไปสู่เครือข่ายปลายทาง อย่างไรก็ดี การนับจำนวน Hop เป็นหลักเพื่อเลือกเส้นทางเดินที่ดีที่สุด ไม่ได้หมายความว่า Router จะได้เส้นทางที่ดีที่สุด เสมอไป ตัวอย่าง เช่น เพื่อให้ Router A เดินทางไปสู่ Router B ตัว RIP จะเลือกเส้นทางการเชื่อมต่อความเร็ว 56K แทนที่จะเลือก เส้นทางความเร็วสูงกว่า อย่าง เช่น 1.5 Mbps เนื่องจากว่า Router A เห็นว่า การเดินทางไปสู่ B โดยผ่าน Router C เป็นการใช้ 2 Hop โดยไม่สนใจว่า การเดินทางอ้อมผ่านทาง Router C จะมีความรวดเร็วกว่า


การเกิดปัญหา Routing Loop
RIP เป็นตัวอย่างของปัญหาที่เกิดขึ้นบน โปรโตคอลเลือกเส้นทางอย่าง Distance Vector ปัญหาของ Router ที่ทำงานภายใต้ RIP คือการที่ Router ไม่สามารถมองเห็นหรือเข้าใจภาพรวมของเครือข่ายทั้งหมด แต่จะอาศัยข้อมูลข่าวสารที่ได้ รับจาก Router เพื่อนบ้าน ว่า มี Router อยู่กี่ตัว และเชื่อมต่อที่ใดบ้าง ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบนเครือข่าย Router จะไม่ได้รับการปรับปรุงข่าวสารนี้ ได้พร้อมกันทุกตัว ทำให้ได้รับข้อมูลข่าวสารล่าช้า ทำให้ Router บางตัว หรือส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า การเปลี่ยนแปลงบนเครือข่ายยังไม่เกิดขึ้น ทั้งที่ มีบางเครือข่าย ได้ล่มไปก่อนหน้านี้แล้ว Router เหล่านี้ ก็ยังปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางเก่า ให้แก่กัน ทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า Routing Loop โดย Routing Loop เป็นเรื่องของ Packet ที่วิ่งกลับไปกลับมาระหว่าง Router 2 ตัวหรือมากกว่า โดยไม่สามารถหลุดออกไปจากวงจรสะท้อนกลับไปกลับมานี้ได้ บางครั้งฝรั่งเรียกลักษณะนี้ว่า Count to Infinity
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ RIP จะใช้กลไกการทำงานหลายประการ ดังนี้
  •  Count To Infinity
  •  Split Horizon
  •  Poison Reverse Update
  •  Hold Down Counter
  •  Triggered Updates



router#conf t
#router rip
#no auto-summary
#version 2
#network [ip neighbor]

โดย ip neighbor ในที่นี้คือ ip network ที่ติดตัวมันเอง หรือ network connected นั้นเอง ในทุกๆตัวที่ต้องการให้เป็น RIP



Comments

Popular posts from this blog

รู้จักกับ Breakpoints ใน Responsive Web Design

IS-IS & OSPF